ทำไม กลุ่มคนทำเฟอร์นิเจอร์ ถึงเรียกว่า นักประดิษฐ์

Last updated: 2 ต.ค. 2560  |  2762 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไม กลุ่มคนทำเฟอร์นิเจอร์ ถึงเรียกว่า นักประดิษฐ์

แตกต่างเมื่อหลายสิบปีก่อน เกี่ยวกับการทำงานเฟอร์นิเจอร์ และ การนำเสนอผลงาน

เมื่อปลายปี 2555 ผมกระโดดเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับงานออกแบบและผลิตตกแต่งร้าน (ทั้ง ๆ ที่ผมยังไม่รู้ Detail หรือ ยั่งลึกมากพอ มันคือความเสี่ยง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)

ผมมีความถนัดอยู่ไม่กี่อย่างก็คือ การตลาด กับ ร้านมือถือ

ธุรกิจมือถือ เมื่อย้อนไปสัก 4-5 ปี ถือว่า บูมสุด ๆ (นักธุรกิจ เจ้าของร้านมือถือมือใหม่ เกิดขึ้นจำนวนมาก) โดยการตั้งชื่อร้าน ก็จะมี คำว่า “ไอ” นำหน้า (อันนี้ ถือว่าเป็นกลยุทธ์ ที่ถูกทางในการเลือกใช้)

เมื่อผมตัดสินใจ และลงมือทำ ผมก็ตั้งใจศึกษาอย่างสุดชีวิต เพื่อเพียงว่าสักวันหนึ่ง เราจะมีความรู้และมีประสบการณ์ 

เฟอร์นิเจอร์ เมื่อสมัยก่อน ช่าง หรือ นักประดิษฐ์ ได้วาดลายเส้น ลงบนกระดาษและ อธิบายและชี้แจ้งรายละเอียดงานโดยการบอกกล่าวและแนะนำ ก็สามารถประเมินราคาให้ผู้ว่าจ้างได้ทันที จบในขบวนการเดียว

ณ ปัจจุบัน การทำงานเฟอร์นิเจอร์ ได้เปลี่ยนไปมาก เมื่อผู้ว่าจ้าง ได้เจรจาพูดคุยกับ หัวหน้าช่าง หรือ บริษัทฯ
หน้าที่ของ หัวหน้าช่าง หรือ บริษัทฯ

จึงมีหน้าที่ 
1. Sketch ภาพคร่าว
2. ออกแบบ Lay out
3. ออกแบบแสดงรูปทัศนียภาพ หรือ 3D มุมมอง มุมตัด
4. กำหนดรายละเอียด หรือ Scale
5. นำเสนอห้างฯ (ถ้ากรณี พื้นที่เช่าบนห้างฯ)
6. ถอด BOQ กำหนดราคากลาง
7. ทำเอกสารใบเสนอราคา
8. เซ็นเอกสารสัญญา พร้อมกำหนดเงื่อนไขการทำงานและระยะเวลา
9. จัดซื้อ จัดจ้าง ตามฟังก์ชั่นการทำงาน
10. ประกอบชิ้นงาน พร้อม QC
11. ติดตั้งหน้างาน
12. ประเมินสถานการณ์ และ ผลงาน
13. ส่งมอบงาน พร้อมชี้แจ้งรายละเอียด ตำแหน่งต่าง ๆ ของงานทั้งหมด

จากปลายปากกา ขีด เขียน สู่ งานออกแบบ และ จินตนาการ แบบไม่มีข้อจำกัด 

ช่าง หรือ นักประดิษฐ์ ไม่จำเป็นต้องเรียนสูง และต้องมีประสบการณ์สูง หรือไม่ 
ต้องมาศึกษา วิธีการ และ ขบวนการจากการออกแบบ เป็นเบื้องต้น

ผมจึงเรียกกลุ่มคนทำงานเฟอร์นิเจอร์ คือ นักประดิษฐ์ โดยปริยาย

สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ คือ

ผมสร้าง Model ธุรกิจ ที่เรียกว่า Mobile Phone Model Business เป็นผลงานชิ้นแรก (และผ่านระยะเวลา 2 ปี จึงอยากบอกให้โลกและสังคม Social ได้ทราบ เราคือ ผู้ออกแบบและผลิตงาน ร้านมือถือที่เยอะที่สุด ณ เวลานี้ ด้วยความชอบและความชำนาญ)

ผมสร้างและเรียนรู้กับนักออกแบบที่เก่ง และมีจินตนาการ กับ คนรุ่นใหม่จริง ๆ ผ่านเครื่องมือต่างๆ 

ผมได้เข้าใจและมีทีมช่างประดิษฐ์ที่เก่งและมีประสบการณ์ตรงมากๆ 

ผมได้สร้างกลไลต่าง ๆ กับ Digital Marketing บน Social

นี่คือส่ิงที่เรามีอยู่ ณ ขณะนี้ วันนี้ผมได้เปิด 2 Project ใหม่ กับ ไตรมาสแรกของปี
1. Franchise (แฟรนไซส์) กับ แนวความคิดที่ว่า เราจะผลิต Kiosk ที่ไม่มีในท้องตลาด กับ Product ที่เรียบง่าย แต่มีความสตรองมาก

2. FUR Balance (เฟอร์บาร์ลาท์น) กับ แนวความคิดที่ว่า สินค้าเฉพาะทางที่นักออกแบบ สถาปนิก นักประดิษฐ์ ได้รวบรวมไว้ใน Shop Booth Kiosk Home Condo Organize Factory จะถูกแยกชิ้นออกมาให้ทุกท่านได้ใช้งาน และพร้อมเปิดตลาด AEC แบบไร้ขีดจำกัด

นับเวลาต่อจากนี้ไป เรามาร่วมสร้างสรรค์ และ สนุกกับสิ่งที่เราชอบ ผมเชื่อว่า ประเทศไทยต้องแข็งแรงกว่านี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้