ทำไม นิคมอุตสาหกรรม ถึงมีคนจำนวนมากแล้วนิคมฯ แต่ละที่ที่จะลงทุน มันต่างกันไหม

Last updated: 2 Oct 2017  |  4301 Views  | 

ทำไม นิคมอุตสาหกรรม ถึงมีคนจำนวนมากแล้วนิคมฯ แต่ละที่ที่จะลงทุน มันต่างกันไหม

นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Industrial Estate Authority of Thailand ชื่อย่อ IEAT ; กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 เมื่อปี พ.ศ. 2515[2] เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้ารวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาค
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งของประเทศไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ครอบคลุมเขตมีนบุรี และเขตบางกะปิ

ผมมีโอกาสได้ทำงานในโซน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรม แหลมฉบัง ห้างฯ ฮาร์เบอร์มอลล์ / นิคมอุตสาหกรรม โรจนะ Big C อยุธยา และ นิคมอุตสาหกรรม 304 Big C ปราจีนบุรี

ความแตกต่างที่ผมเห็นได้เด่นชัด คือ แต่ละนิคมอุตสาหกรรม มีผู้คนจำนวนมาก หลากหลายอาชีพ จับจ่ายใช้สอยหลังเลิกงาน

SME ที่เปิดทำธุรกิจต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงร้านที่ผมถนัด คือ ร้านมือถือ ได้มีบทบาทสำคัญ ผมได้ทำการออกแบบและตกแต่งร้านมือถือ ในเชิง เพิ่มมูลค่า คุณภาพ ให้เกิดการจดจำ และน่าเชื่อถือ ให้กับร้านค้า

ผมเชื่อว่า ถ้านักธุรกิจ สามารถจับจองพื้นที่ประเภทนี้ได้ ผมคิดว่าท่านสามารถปิดประตูขาดทุนไปได้เลย เพราะจำนวนคน กับ กำลังซื้อ ในพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับคนเมือง จึงเป็นเหตุผลและปัจจัยช่วยตัดสินใจซื้อ

Concept ที่ผมลงพื้นที่หน้างานด้วยตนเองกับทีมช่างออกแบบ ก็เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นจริง ของภูมิทัศน์ ผมทั้งได้ความรู้ใหม่ และ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ

เมื่อเราตั้ง เป้าหมายชัดเจนแล้ว เช่น One Shop One Concept One Design แต่ละร้านต้องไม่เหมือนกัน กับ สิ่งที่ผมทำมาตั้งแต่ต้น แต่ มันยังรวมไปถึง ร้านค้ารอบข้างด้วย ไม่ว่าจะเป็น โทนสี การให้รายละเอียด วัสดุ เฟอร์นิเจอร์ และ แสงสว่าง

พื้นที่ทำเลที่ดีและเหมาะสม
ผมสรุป เป็นอย่างนี้

ถ้าต้องการผูกขาด หรือ เป็นเจ้าใหญ่ ต้องทำในตัวอำเภอ หรือ นิคม
ถ้าต้องการแข่งขันสมบูรณ์ ต้องบนห้างฯ
ถ้าต้องการตลาดใหญ่ ตลาดล่าง ต้องแหล่งชุมชน มหาลัย โรงเรียน

การลงทุนอาจจะไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน สำหรับงานตกแต่งก็เช่นกัน ต้องดูภูมิทัศน์ กับ ความต้องการเป็นเกณฑ์ ทำในสิ่งที่ใช่และชอบ ภายใต้เงื่อนไขและขอบเขตของตนเอง

ปักมุด เราจะเดินทาง ล่าฝัน กันต่อไป

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy