ทำไม ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มันหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วเมื่อไหร่ จะมีคำๆ นี้ อีก?

Last updated: 2 Oct 2017  |  2877 Views  | 

ทำไม ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มันหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วเมื่อไหร่ จะมีคำๆ นี้ อีก?

ตั้งแต่เริ่มจำความได้ พ่อกับแม่ ไม่เคยซื้อข้าวหรือ กับข้าวกิน ยกเว้น แต่อาหารทะเล (อย่างเช่น ปลาทู) ซึ่งที่บ้านติดกับแม่น้ำชี เลยได้แต่ลิ้มลองปลาน้ำจืด

คำถาม มันหาง่าย อย่างนั้นเลยรึ

ที่นา ปลูกอะไรก็เกิด เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
น้ำในนา เป็นแหล่วงรวมของพืชน้ำ และ ปลา (ชุก) เน้น ๆ เบ็ดแค่ไม่ถึง 10 คัน ได้กินปลา แน่นอน

นี่หรือ ที่เด็ก ๆ ไม่มีอะไรกิน กินแต่ข้าวกับปลา 

มาถึงทุกวันนี้ มักพูดกันเล่น ๆ อยู่เสมอ กินปลาซิจะได้ฉลาด (แอบขำ) กินตั้งแต่เด็กแล้ว 

ฝนฟ้าเริ่มเปลี่ยน ฝนไม่มาตามกำหนด ที่ชาวนาได้รอคอย วิธีการเริ่มเปลี่ยน จากทำนา สู่พืชล้มลุก ตลาดเปลี่ยน อะไรที่เคยขายได้ ตามฤดูกาล กลับขาดแคลน

ฟ้าหลังฝน เมื่อมีทรัพยากร จำกัด วิธีทำ ก็คือ กักตุน แปรรูป แปรสภาพ ใครล่ะ คือผู้ เปลี่ยนตลาด

ความสมดุลเริ่มหายทีละนิด แทบจะมองไม่ออกว่า กลมกลืนกับเราไปเรื่อย ๆ จนมองว่าไม่ใช่สาเหตุใหญ่ ที่จะทำให้อนาคตของเรา และ ลูกหลาน ต้องเผชิญหน้ามัน

ในยุค Gen X แบบผม ก็เฝ้าและเชียนบอกว่า เราควรจะทำ...... และทำ....... อายุกับความเชื่องช้าของการกระทำ อาจจะทำให้เราค่อย ๆ คิด ค่อยๆ ทำ

แต่ Gen Y และ Gen Z ยุคนี้แหล่ะ คือยุคที่มีอิสระทางด้านความคิดสูง กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และ กล้าเปลี่ยนแปลง ถึง จะล้มกี่ครั้ง ก็ลุกขึ้นใหม่ได้ทันที และ ลุกอย่างฉับไว ยังไม่ทันรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวด จากการล้มเลย

ธุรกิจ ก็เหมือนกัน มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อะไรที่เราคิดว่าแน่ ๆ จากการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตามไตรมาส มันก็ไม่ใช่ว่าจะ 100% (นั่นคือพิมพ์เขียวระยะสั้น) ที่จะบบอกว่าเราจะถึงจุดนั้น ถ้าเรา..........

มีหนังสือ สักกี่เล่ม ที่เขียนไว้ในอดีต และ ปัจจุบัน ที่เราสามารถทำและเปลี่ยนได้เลยสำหรับอนาคต แค่แนวทาง จรรโลงใจ และให้จินตนาการ 

เวลาเรานั่งดูหนังเรื่องเดียวกัน ทุกคนบอกว่าดีหมด เข้าใจเนื้อหาทั้งหมด แต่ทุกคนไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งหมดทุกคน เหตุเพราะว่า ตั๋วหนัง ตุ้นทุนมันต่ำ ใครๆ ก็ไปแสวงหาได้ แต่ถ้าทุกคนลงทุนสร้างหนังล่ะ 

ทุกคนมองอนาคต เป็นเรื่อง ทางบวกไว้ตลอด (ไม่ค่อยมองอนาคตเป็นเรื่องทุกยาก เพราะมันยังมาไม่ถึง)

Business Model สำหรับ SME หรือ Start UP Company เราควรตระหนักอยู่ตลอดเวลา คือ เรื่องเงินทุน
แปลไว้แบบนี้ สินทรัพย์ = หนี้สิน +ทุน

การสร้าง Business Model หรือ พิมพ์เขียว (ลายแทง) ให้เราปฏิบัติตามนั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเขียนแนวทางปฏิบัติ ให้เราได้ คือ

ผู้มีประสบการณ์
ผู้เชี่ยวชาญ

ยกตัวอย่าง ถ้าเราอยากทำนา ไปฝึกงาน ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ (3 กาลเวลา) ก็ไม่สามารถทำนาได้ดีมีผลผลิตเต็มพื้นที่นา

ผู้มีองค์ความรู้
ผู้มีวิสัยทัศน์

ไม่ได้หมายความว่า อ่านมาก รู้มากนะ  
อ่าน เพื่อ วิเคราะห์หาแนวโน้ม เปรียบเทียบสถิติ (รู้เรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปฏิภาณไหวพริบ)

น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำฉันใด เราก็กลายเป็นคนฉลาดในช่วงเวลาลำบากฉันนั้น

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy